ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา เถาย่านาง, ผักย่านาง, ย่านาง
เถาย่านาง, ผักย่านาง, ย่านาง
Limacia triandra Miers (Syn. Tiliacora triandra (Colebr.) Diels)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Menispermaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Limacia triandra Miers (Syn. Tiliacora triandra (Colebr.) Diels)
 
  ชื่อไทย เถาย่านาง, ผักย่านาง, ย่านาง
 
  ชื่อท้องถิ่น - ผักจอยนาง(คนเมือง), ผักย่านาง(คนเมือง) - จ้อยนาง, เถาย่านาง (เชียงใหม่), เถาวัลย์เขียว (ภาคกลาง), แฮนกึม [1]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้นพรรณไม้เถา ที่เกดจากหัวหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน แล้วจะแทงยอดขึ้นมา จะเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นเถาที่ต้องการหลักยึด หรือห้างร้าน กิ่งก้านแตกสามากมาย มีสีเขียวเลื้อยได้ยาวประมาณ 7-13 เมตร เถาที่ก่อนจะมีขนอ่อนสีเทาๆ ปกคลุม แต่เมื่อแก่แล้วผิวจะเกลี้ยง
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายจะแหลมเรียวยาว โคนใบมนหรือบางทีก็เว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย มีเนื้อใบเกลี้ยงหนา สีเขียวเป็นมัน ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว ยาว 2-5 นิ้ว
ดอก ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น และตามง่ามใบ ช่อดอกยาวประมาณ 1-2.5 นิ้ว ดอกของย่านางนี้มีขนาดเล็กมีอยู่ 3 กลีบ รวมกันเป็นรูปโคนเล็กๆ สีเหลือง เกสรกลางดอกมี 6 อัน
ผล เป็นลูกกลมๆ โตประมาณ 7 มม. เมื่อแก่จะกลายเป็นสีส้ม [1]
 
  ใบ ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายจะแหลมเรียวยาว โคนใบมนหรือบางทีก็เว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย มีเนื้อใบเกลี้ยงหนา สีเขียวเป็นมัน ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-1.5 นิ้ว ยาว 2-5 นิ้ว
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น และตามง่ามใบ ช่อดอกยาวประมาณ 1-2.5 นิ้ว ดอกของย่านางนี้มีขนาดเล็กมีอยู่ 3 กลีบ รวมกันเป็นรูปโคนเล็กๆ สีเหลือง เกสรกลางดอกมี 6 อัน
 
  ผล ผล เป็นลูกกลมๆ โตประมาณ 7 มม. เมื่อแก่จะกลายเป็นสีส้ม [1]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ "- ยอดอ่อน นำไปเป็นส่วนประกอบในแกงต่างๆ เช่น แกงหน่อไม้ แกงรวมกับผักชนิดอื่นๆ(คนเมือง)
- ใบ ใส่แกงหน่อเชื่อว่ามีสรรพคุณแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ(คนเมือง)
ใบ นำมาบดแล้วคั้นเอาน้ำผสมน้ำมะนาวดื่มแก้พิษที่เกิด จากไอระเหยของยาฆ่าแมลง (อาการมึนเมาที่เกิดหลังการพ่นยาฆ่าแมลง)(คนเมือง)
- ใช้มากในการปรุงอาหาร ก้านที่มีใบผสมกับพืชอื่นใช้เป็นยาแก้ท้องเสียในกัมพูชา ในเวียดนามใช้เป็นเชือก ราก น้ำต้มดื่มแก้ไข้ เป็นยารักษาพิษได้ดี [8]
- ทั้งต้น นำมาปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ
ใบ ใช้เป็นยาถอนพิษหรือถ้าเรานำมาปรุงผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ จะเป็นยาแก้ไข้ แก้รากสาด แก้ไข้พิษ แก้ไข้เซื่องซึม แก้ไข้ปวดหัวตัวร้อน แก้ไข้อีสุกอีใส หัด เหือด แก้ไข้สะบัดร้อน รักษาลิ้นกระด้าง คอแข็ง คางแข็ง เป็นยากวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ และแก้ไข้ดำแดง
ราก แก้เบื่อเมา กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ แก้เมาสุรา ถอนพิษสำแดง แก้ไม่ผูกไม่ถ่าย และถ้าเอาไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ จะเป็นยาแก้ไข้รากสาด แก้ไข้กลับ แก้ไข้อีสุกอีใส แก้ไข้เหือด หัด แก้ไข้ทรพิษ แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้มาเลเรียเรื้อรัง แก้ไข้ผ่าระดู แก้เลือดแตก เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้พิษภายในให้ตกสิ้น แก้โรคหัวใจบวม แก้กำเดา แก้ลม แก้ไข้จับสั่น ฯลฯ [1]"
 
  อ้างอิง "เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ."
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง